Thursday, November 10, 2011

ตำรายา ของสมุนไพรไทย

0 comments | Read more...
การศึกษาทางการแพทย์แผนไทยสมัยโบราณ นิยมท่องจำสืบทอดต่อกันมา
มีบางส่วนที่ได้จารึกไว้เป็นตำราบนแผ่นศิลา แผ่นหนัง แผ่นดินเผา ใบลาน
เมื่อมีการทำเป็นรูปกระดาษแล้ว ก็จดลงบนกระดาษเลย



ในระยะแรกๆ เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อไม้ข่อย เรียกว่าสมุดข่อย 
ลักษณะของกระดาษข่อยจะมีสีขาว เขียนด้วยสีดำ หรือสีทอง อาจมีสีแดง 
กระดาษข่อยที่ผสมด้วยผงถ่านมีเนื้อกระดาษสีดำ เขียนด้วยสีขาวหรือสีทอง

สีทองส่วนมากทำจากหอระดาลกลีบทอง ที่ทำจากผลทองคำก็มี ตำราสมัยโบราณมักทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพับซ้อนกันหลายตลบ เวลาจะอ่านทีก็เปิดทีล่ะหน้า ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ส่วนที่ทำด้วยใบลานมักจารด้วยเหล้กปลายแหลม แล้วทาเขม่าให้เกิดสีดำ แล้วเจาะรูด้วยเชือกมัดกันเป็นเล่ม

เรียบเรียงบทความ

ขอบคุณรูปภาพจาก 

ข้อมูลจาก
สมุนไพรไทย ของ ดร นิจศิริ เรืองรังษี

Saturday, November 5, 2011

สมุนไพรรักษามะเร็งทองพันชั่ง

0 comments | Read more...
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Rhinacanthus nasutus  (L.) Kurz
ชื่อพ้อง : R. communis  Nees
ชื่อสามัญ :    White crane flower
วงศ์ :   ACANTHACEAE
ชื่ออื่น  ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่ (ภาคกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม ส่วนโคนต้นเนื้อไม้เป็นแกนแข็ง ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน รูปไข่ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวอ่อน ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกสีขาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมีจุดประสีม่วงแดง ผล เป็นฝักเล็ก พอแห้งแตกออกได้
ส่วนที่ใช้ : 
ราก  ทั้งต้น  ต้น  ใบ


สรรพคุณ :
  • ราก - แก้กลากเกลื้อน รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคผิวหนัง ดับพิษไข้ แก้พิษงู แก้พยาธิวงแหวนตาผิวหนัง
  • ทั้งต้น - รักษาโรคผิวหนัง แก้น้ำเหลืองเสีย แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน รักษามะเร็ง คุดทะราด ขับพยาธิตามผิวหนัง ตามบาดแผล แก้ไส้เลื่อน ไส้ลาม แก้ปัสสาวะผิดปกติ
  • ต้น - บำรุงร่างกาย แก้โรค 108 ประการ รักษาโรคผมร่วง
  • ใบ - ดับพิษไข้ แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน แก้โรคไขข้ออักเสบ รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคความดันโลหิตสูง แก้ผมร่วง บำรุงร่างกาย แก้โรค 108 ประการ แก้ปวดฝี แก้พิษงู ถอนพิษ แก้อักเสบ แก้โรคมุตกิต รักษาโรคพยาธิวงแหวนตามผิวหนัง

    นอกจากนี้ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ รักษาโรคต่อไปนี้คือ
  • ราก - รักษามะเร็งเนื้องอก รักษามะเร็งปอด กระเพาะลำไส้ มะเร็งตามร่างกาย ทำให้ผมดกดำ แก้ไอเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด แก้ริดสีดวงทวาร ดับพิษไข้ รักษาโรคผิวหนัง แก้กระษัย แก้ผมหงอก ผมร่วง รักษาโรคตับพิการ รักษาโรครูมาติซึม รักษาโรคไขข้อพิการ แก้ลมเข้าข้อทำให้ปวดบวมต่างๆ ขับปัสสาวะ แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค
  • ทั้งต้น  - รักษาโรคผิวหนัง คุดทะราด แก้เม็ดผื่นคัน
  • ต้น - รักษามะเร็งเนื้องอก รักษามะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะ มะเร็งตามร่างกาย มะเร็งลำไส้ แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค รักษาโรคผิวหนัง
  • ใบ - แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค รักษาโรคผิวหนัง แก้ไข้ แก้ปวดหัวตัวร้อน แก้มะเร็งไช แก้หิดมะตอย รักษาโรคมะเร็ง รักษาวัณโรค แก้ใจระส่ำระสาย แก้คลุ้มคลั่ง แก้สารพัดพิษ

    นอกจากนี้ในตำราบางเล่ม ยังได้กล่าวถึงสรรพคุณทองพันชั่ง โดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใดของพืช หรือส่วนใดในตำรายาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ ในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ


    - รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคมะเร็ง แก้มุตกิตระดูขาว เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ผมร่วง รักษาโรคนิ่ว
    - แก้เคล็ดขัดยอกชายโครง มือเคล็ด คอเคล็ด แก้มะเร็งในกระเพาะ แก้ฝีประคำร้อย แก้มะเร็งในคอ แก้มะเร็งในปาก แก้ไข้เหนือ แก้จุกเสียด เป็นยาหยอดตา แก้ไอเป็นเลือด แก้ช้ำใน แก้นิ่ว แก้โรคผิวหนัง แก้ลมสาร แก้มะเร็งในปอด แก้มะเร็งภายในและภายนอก
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • ใช้รับประทานเป็นยาภายใน รักษาโรคมะเร็ง และวัณโรคระยะเริ่มแรก
    1. ใช้ทั้งต้น สด จำนวน 30 กรัม ต้มกับน้ำ จำนวนท่วมใบยา ต้มดื่มต่างน้ำ
    2. ใช้ก้านและใบสด 30 กรัม (แห้ง 10-15 กรัม) ผสมน้ำตาลกรวดต้มน้ำดื่ม รักษาโรคปอดระยะเริ่มแรก
  • ใช้เป็นยาภายนอก แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อนและผื่นคันอื่นๆ
    1. ใช้ใบสด 5-8 ใบ หรือ รากสด 2-3 ราก
    ใบสดตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงเล็กน้อย ทาบริเวณที่เป็นเกลื้อน หรือเอารากมาป่น แช่เหล้าไว้ 1 สัปดาห์ กรองเอาน้ำยาที่แช่มาทา ทาบ่อยๆ จนกว่าจะหาย
    2. ใช้ใบสดตำผสมน้ำมันดิบ หรือ แอลกอฮอล์ 75% ทาบริเวณที่เป็น
สารเคมี - Rhinacathin, Oxymethylanthra quinone, Quinone, Rutin (quercetin - 3 - rutinoside)

ที่มา http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_19.htm

Wednesday, November 2, 2011

สรรพคุณของสมุนไพรชนิดต่างๆ

0 comments | Read more...


กระชายดำ
-
เป็นยาอายุวัฒนะ ชะลอความแก่ ขับลม ขับปัสสาวะ รักษาโรคกระเพาะอาหารแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ 
เนื่องจากรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา บำรุงเลือดสตรี แก้ตกขาว ทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ

ชะพลู
- เป็นพืชผักสมุนไพรพื้นบ้าน นิยมใช้ห่อ เป็นเครื่องเมี่ยงคำ มีสาร เบต้าแคโรทีน
 
ชะอม- เป็นพืชผักสมุนไพรพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่ง นิยมใช้ปรุงอาหารในรูป ชุบไข่ทอด ให้สารอาหารประเภท ฟอสฟอรัส วิตตามินซี เบต้าแคโรทีน สรรพคุณ ช่วยป้องกันมะเร็ง ให้กากใย ช่วยระบบการย่อย และระบบขับถ่าย

ดอกโสน - เป็นพืชผักสมุนไพรพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่ง ที่ ให้วิตตามินมีน เกลือแร่ โปรตีน และ ธาตุเหล็ก
ต้นหอม 
พืชผักสมุนไพรพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่ง ที่ ให้แคลเซียม และ ฟอสฟอรัส สรรพคุณ ช่วย ให้ร่างกาย
 ดูดซึมอาหาร ป้องกันมะเร็ง

แตงกวา - พืชผักสมุนไพรพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่ง ที่ ให้ประโยชน์ทางยา สรรพคุณ ช่วยขับปัสสาวะ แก้ไข้ กระหายน้ำ ใบของแตงกวายัง ช่วย แก้บิดและท้องเสีย ส่วนเถา ช่วยลดความดันของเลือดได้

ตำลึง - พืชผักสมุนไพรพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่ง ที่ ให้คุณค่าทางอาหารสูง มีเบต้าแคโรทีน สรรพคุณ ลดอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็ง และโรคหัวใจขาดเลือด ให้แคลเซียม มีกากใยช่วยระบบการขับถ่าย


ถั่วแขก - พืชผักสมุนไพรพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่ง ที่ ให้วิตตามิน ซี ให้แคลเซียม สรรพคุณ ช่วยเสริมสร้าง 
กระดูกและฟัน มีธาตุเหล็ก ที่สำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือด



ถั่วฝักยาว
 
พืชผักสมุนไพรอีกชนิดหนึ่ง ที่ ให้แคลเซียม ฟอสฟอรัส มีกากใยอาหาร สรรพคุณ ช่วยลดคอเลสเตอรอล



ถั่วพู - พืชผักสมุนไพรพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่ง ที่ ให้แคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตตามินซี 

ถั่วลันเตา- เป็นพืชผัก ที่อุดมไปด้วย ธาตุ แคลเซียม ฟอสฟอรัส มีโปรตีนมา


บร็อคโคลี่ - เป็นพืชผักที่นำพันธุ์มาจากต่างประเทศ ให้ ฟอสฟอรัส เหล็ก แคลเซียม วิตตามินซี


บวบ พืชผักสมุนไพรพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่ง ที่ ให้คุณค่าทางอาหาร มีฟอสฟอรัส และแร่ธาตุ 
สรรพคุณ ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน มีธาตุเหล็ก ช่วยสร้างเม็ดเลือด



ใบบัวบก - พืชผักสมุนไพรพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่ง ที่ ให้คุณค่าและสรรพคุณ บำรุงหัวใจ ลดอาการแพ้
 ลดความดันโลหิต แก้ช้ำใน มีแคลเซียม และเบต้า แคโรทีน มีวิตตามิน บี 
สูงช่วยบำรุงสมอง



ใบแมงลัก - พืชผักสมุนไพรพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่ง ที่ ให้คุณค่าและมีสรรพคุณ ป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยย่อยอาหาร
 ช่วยระบบการขับถ่าย
 

ปวยเล้ง 
มีคุณค่าทางอาหาร ทางสมุนไพรมี สรรพคุณ ช่วยให้สายตาดี ผิวพรรณผุดผ่อง ป้องกันโรคมะเร็ง
ผัก



กระเฉด
 
พืชผักสมุนไพรพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่ง ที่ ให้วิตตามิน บี วิตตามีน ซี เบต้า แคโรทีน ให้   แคลเซียม 

ผักกาดขาว 
เป็นพืชผักที่มีคุณสมบัติทางสมุนไพร สรรพคุณ มี โฟเล็ต สูง ช่วยให้ระยะการตั้งครรภ์ ในระยะ
สามเดือนแรก ช่วยขับปัสสาวะ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยระบบ ขับถ่ายและระบบการย่อยอาหาร



ผักกาดหอม 
เป็นพืชผักสวยงาม นิยมใช้ปรุงอาหารและรับประทานสด ๆ สรรพคุณทางสมุนไพร ช่วยให้แม่มีน้ำนม
เลี้ยงลูก ลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง



ผักชี
- เป็นพืชผักสวยงาม นิยมใช้ปรุงอาหารและรับประทานสด ๆ สรรพคุณทางสมุนไพร ช่วยการสร้างเม็ดเลือดมีแคลเซี่ยมและ ฟอสฟอรัส สูง มีธาตุเหล็ก
 


ผักบุ้ง เป็นพืชผักที่หาได้ง่าย ทางสมุนไพรมีสรรพคุณ ช่วยให้ดวงตามีน้ำหล่อเลี้ยง มีเบต้าแคโรทีน และ สามารถเปลี่ยนเป็น วิตตามีน เอ บำรุงสายตา มีธาตุเหล็กบำรุงเลือด มีแคลเซี่ยมและ ฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟันลดน้ำตาลในกระแสเลือด


ผักโขม ผักพื้นบ้านที่มีคุณสมบัติเป็นสมุนไพร เป็นผักใบเขียว มีคุณสมบัติที่ สามารถเปลี่ยนเบต้า แคโรทีน ในตัวของมันเองให้เป็น วิตตามิน เอ สรรพคุณ ช่วย ป้องกันโรคมะเร็ง และโรคหัวใจขาดเลือด 
นอกจากนี้ ยังให้สารฟอสฟอรัสและแคลเซี่ยม



ผักเสี้ยน - ผักพื้นบ้านที่มีคุณสมบัติเป็นสมุนไพร เป็นผักใบเขียว มีคุณสมบัติที่ สามารถเปลี่ยนเบต้า แคโรทีน ในตัวของมันเองให้เป็น วิตตามินเอ สรรพคุณ ช่วย รักษาอาการปวดเมื่อย ตามเนื้อตามตัว ขับเสมหะและ ฆ่าพยาธิ และอาการระดูเน่าด้วย

ผักกูด - เป็นพืชชนิดหนึ่ง อุดมไปด้วย ธาตุเหล็ก และ เบต้า แคโรทีน


Tuesday, October 25, 2011

สมุนไพร หมายถึง ?

0 comments | Read more...




สมุนไพร หมายถึง พืชที่มีสรรพคุณในการรักษาโรค หรือ อาการเจ็บป่วยต่าง ๆ
การใช้สมุนไพรสำหรับรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ จะต้องนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า ยา 

นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า เภสัชวัตถุ พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่ว กระวาน กานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น พืชเหล่านี้ถ้านำมาปรุงอาหารเราจะเรียกว่า เครื่องเทศ

ความหมาย
คำว่า สมุนไพร ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง พืชที่ใช้ ทำเป็นเครื่องยา สมุนไพรกำเนิดมาจากธรรมชาติและมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะ ในทางสุขภาพ อันหมายถึงทั้งการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค ความหมายของยาสมุนไพรในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ได้ระบุว่า ยาสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษาชาติสัตว์หรือแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของราก ลำต้น ใบ ดอก ผลฯลฯ ซึ่งมิได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใด ๆ

แต่ในทางการค้า สมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปแบบต่าง ๆ
เช่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่งแต่ในความรู้สึกของคนทั่วไปเมื่อกล่าวถึงสมุนไพร มักนึกถึงเฉพาะต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นยาเท่านั้น

ลักษณะ
พืชสมุนไพร นั้นตั้งแต่โบราณก็ทราบกันดีว่ามีคุณค่าทางยามากมายซึ่ง เชื่อกันอีกด้วยว่า
ต้นพืชต่างๆ ก็เป็นพืชที่มีสารที่เป็นตัวยาด้วยกันทั้งสิ้นเพียงแต่ว่าพืชชนิดไหนจะมีคุณค่าทางยามากน้อยกว่ากันเท่านั้น

พืชสมุนไพร หรือวัตถุธาตุนี้ หรือตัวยาสมุนไพรนี้ แบ่งออกเป็น 5 ประการ ดังนี้

  • รูป ได้แก่ ใบไม้ ดอกไม้ เปลือกไม้ แก่นไม้ กระพี้ไม้ รากไม้ เมล็ด
  • สี มองแล้วเห็นว่าเป็นสีเขียวใบไม้ สีเหลือง สีแดง สีส้ม สีม่วง สีน้ำตาล สีดำ
  • กลิ่น ให้รู้ว่ามรกลิ่น หอม เหม็น หรือกลิ่นอย่างไร
  • รส ให้รู้ว่ามีรสอย่างไร รสจืด รสฝาด รสขม รสเค็ม รสหวาน รสเปรี้ยว รสเย็น
  • ชื่อ ต้องรู้ว่ามีชื่ออะไรในพืชสมุนไพรนั้นๆ ให้รู้ว่า ขิงเป็นอย่างไร ข่า เป็นอย่างไร ใบขี้เหล็กเป็นอย่างไร

ประเภทของยาเภสัชวัตถุ
ในพระราชบัญญัติยาฉบับที่ 3 ปีพุทธศักราช 2522 ได้แบ่งยาที่ได้จากเภสัชวัตถุนี้ไว้เป็น 2 ประเภทคือ
ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณหรือในการบำบัดโรคของสัตว์ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นยาแผนโบราณ หรือได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ

ยาสมุนไพร หมายถึง ยาที่ได้จากพืชสัตว์แร่ธาตุที่ยังมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพสมุนไพร นอกจากจะใช้เป็นยาแล้ว ยังใช้ประโยชน์เป็นอาหาร ใช้เตรียมเป็นเครื่องดื่ม ใช้เป็นอาหารเสริม เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง ใช้แต่งกลิ่น แต่งสีอาหารและยา ตลอดจนใช้เป็นยาฆ่าแมลงอีกด้วย

ในทางตรงกันข้าม มีสมุนไพรจำนวนไม่น้อยที่มีพิษ ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีหรือใช้เกินขนาดจะมีพิษถึงตายได้ ดังนั้นการใช้สมุนไพรจึงควรใช้ด้วยความระมัดระวังและใช้อย่างถูกต้อง ปัจจุบันมีการตื่นตัวในการนำสมุนไพรมาใช้พัฒนาประเทศมากขึ้น

บทบาททางเศรษฐกิจ
สมุนไพรเป็นส่วนหนึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนิน โครงการ สมุนไพรกับสาธารณสุขมูลฐาน โดยเน้นการนำสมุนไพรมาใช้บำบัดรักษาโรคใน สถานบริการสาธารณสุขของรัฐมากขึ้น และ ส่งเสริมให้ปลูกสมุนไพรเพื่อใช้ภายในหมู่บ้านเป็นการสนับสนุนให้มีการใช้สมุนไพรมากยิ่งขึ้น อันเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยประเทศชาติประหยัดเงินตราในการสั่งซื้อยาสำเร็จรูปจากต่างประเทศได้ปีละเป็นจำนวนมาก

การศึกษาเพิ่มเติม
ปัจจุบันมีผู้พยายามศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนายาสมุนไพรให้สามารถนำมาใช้ในรูปแบบที่สะดวกยิ่งขึ้น เช่น นำมาบดเป็นผงบรรจุแคปซูล ตอกเป็นยาเม็ด เตรียมเป็นครีมหรือยาขี้ผึ้งเพื่อใช้ทาภายนอก เป็นต้น

ในการศึกษาวิจัยเพื่อนำสมุนไพรมาใช้เป็นยาแผนปัจจุบันนั้น ได้มีการวิจัยอย่างกว้างขวาง โดยพยายามสกัดสารสำคัญจากสมุนไพรเพื่อให้ได้สารที่บริสุทธิ์ ศึกษาคุณสมบัติทางด้านเคมี ฟิสิกส์ของสารเพื่อให้ทราบว่าเป็นสารชนิดใด ตรวจสอบฤทธิ์ด้านเภสัชวิทยาในสัตว์ทดลองเพื่อดูให้ได้ผลดีในการรักษาโรคหรือไม่เพียงใด ศึกษาความเป็นพิษและผลข้างเคียง เมื่อพบว่าสารชนิดใดให้ผลในการรักษาที่ดี โดยไม่มีพิษหรือมีพิษข้างเคียงน้อยจึงนำสารนั้นมาเตรียมเป็นยารูปแบบที่เหมาะสมเพื่อทดลองใช้ต่อไป

http://th.wikipedia.org/wiki/สมุนไพร

Blogger news

Blogroll

ABOUT

รวบรวมสมุนไพร เพื่อการศึกษา